วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สรรพคุณของถั่วลันเตา

ถั่วลันเตาน่ารัก
สรรพคุณถั่วลันเตาหลายคนคงจะรู้จักถั่วลันเตากันมาบ้างแล้วใช่ไหมค่ะ วันนี้เรามีสรรพคุณถั่วลันเตาที่ช่วยรักษาโรคได้ด้วยมาฝากกัน ถั่วลันเตานั้นเป็นอีกหนึ่งสมุนไพรไทยที่หากันได้ง่าย ๆ มีขายตามท้องตลาดทั่วไป บ้างก็นำถั่วลันเตามามาผลิตเป็นขนมคบเคี้ยวต่าง ๆ หรือนำมาปรุงอาหารก็อร่อยดีนักแล ว่าแล้วเราก็มาดู สรรพคุณถั่วลันเตา กันเลยดีกว่าจะช่วยอะไรคุณ ๆ ได้บ้าง วันหลังเมื่อเข้าไปในตลาดก็อย่างลืมซื้อติดไม้ติดมือนำกลับมาปรุงอาหารด้วยล่ะ เพราะ สรรพคุณถั่วลันเตา ของเค้าดีนักแล




สรรพคุณถั่วลันเตา


ประโยชน์ / สรรพคุณถั่วลันเตา


- เถา ใช้กินเป็นยารักษาโรคตับทรุด ตับพิการ และชักตับ

- ฝัก จะมีรสมันใช้ปรุงเป็นอาหารได้ทั้งอาหารจีนและอาหารฝรั่ง

- อื่น ๆ ฝักยังขายเป็นสินค้า ที่ใช้ในการปรุงอาหาร นอกจากนี้แล้วยังสามารถนำฝักมาแกะเอาเมล็ดนำไปต้มดองไว้หรือจะทำเป็นถั่วกระป๋องขายได้ราคาดีมาก

สรรพคุณของปอกระบิด

 
 
จริงๆแล้ว ปอกะบิด คือ สมุนไพร ธรรมชาติ ที่กำลังมาแรง เห็นผลทันที ในด้านการ บำบัด ฟื้นฟู สำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง สำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ ด้านเบาหวาน ความดันโลหิต โรคไต โรคเก๊าท์ โรคเหน็บชา ชาตาม ปลายมือ ปลายเท้า ปวดหลัว ปวดเอว ปวดตามกล้ามเนื้อ นิ้วล็อค โรคบวม โรคตับ ไขมันในเส้นเลือด อุดตัน ไมเกรน นอนไม่หลับ ปวดประจำเดือน ภูมิแพ้ และ โรคอ้วน ซึ่งดูเหมือนว่า ปอกะบิด จะตอบโจท คลี่คลาย ปัญหาของผู้ป่วยเหล่านี้ ให้บรรเทาลง อย่างเห็นได้ชัด จึงดูเหมือนว่า สมุนไพร ปอกะบิด จะเป็นดั่ง สมุนไพร มหัศจรรย์ เสียนี่กระไร ดังนั้น จึงอยากใคร่ ขอแนะนำ วิธีการ ขั้นตอน การทำปอกะบิด ของ ไร่ จะเมย์ อำเภอฝาง จ. เชียงใหม่ โดยทำตามคำแนะนำจากหมอพื้นบ้านโบราณ ของชนเผ่า ปกากะยอ ภาคเหนือตอนบน มาเล่าสู่กันฟัง พอเป็นสังเขป เพื่อประโยชน์ สำหรับผู้บริโภค ก่อนตัดสินใจ เลือกซื้อ มาบริโภคอย่างถูกวิธี
ก่อนจะมาเป็น ปอกะบิด ที่พร้อม ชงดื่ม
ขั้นตอน การทำ สมุนไพร ปอกะบิด
1 เก็บฝักปอกะบิด ที่ แก่จัด ยังไม่เป็นสีดำ [เพราะถ้าแก่คาต้นจนเป็นสีดำ จะทำให้คลอโรฟิลล์หมดไป คลอโรฟิลล์มีประโยชน์ในการปรับความสมดุล ของร่างกาย และอาจทำให้ ปอกะบิดนั้นมีเชื้อรา ติดมาเนื่องจาก โดนน้ำค้างช่วงเวลากลางคืน] นำปอกะบิดที่ได้มาล้าง ให้สะอาด แล้วนำไปผึ่งลม ตากแดด ให้แห้ง เสียก่อน ประมาณ 7 แดด หรือ 1 อาทิตย์
2 จากนั้น ให้เอาปอกะบิดที่ตากแห้งไปอบ ในเตาอบ ที่อุณหภูมิ 150 องศา เพื่อไม่ให้ปอกะบิดมีสีดำ และไล่ความชื้น ออกให้หมด เป็นระยะเวลา 8 ชั่วโมง เป็นอย่างน้อย [ให้คอยสังเกตว่าภายในตู้อบมี ความชื้นลงเหลืออยู่หรือเปล่า] เมื่อแน่ใจแล้วว่าปอกะบิดแห้งสนิท แล้ว ให้นำออกจากเตาอบ นำไปผึ่งลมให้เย็น ทิ้งไว้
3 นำปอกะบิดที่อบแห้งให้ ไปคั่วไฟ อ่อน ในหม้อดิน คอยคน ตลอดเวลา อย่าใช้ไฟแรงมาก ให้คอยสังเกตว่า ปอกะบิดเริ่มส่งกลิ่นหอม ตามความเชื่อของคนเผ่า ปกากะยอ บอกว่าเมื่อเมล็ดข้างในปอกะบิดโดนความร้อนจากการคั่ว จะทำการหลังสารบางอย่าง (อโรม่า) ออกมาทำให้มีกลิ่นหอม แล้วมีประโยชน์มาก ในเรื่อง กษัยเส้น และในฮอร์โมน บุรุษเพศชาย รวมทั้งระบบขับถ่าย ละลายไขมัน ป้องกัน โรคข้อมือ ข้อเท้า ล๊อค เหน็บชา ชาปลายมือ ปลายเท้า ลดอาการ ปวดเข่า ปวดข้อ ทำให้นอนหลับสบาย เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องนำปอกะบิดไปคั่วเสียก่อนเมื่อคั่วปอกะบิดจนหอมได้ที่แล้ว ให้ยกลง ทิ้งไว้ให้เย็น นำไปร่อน เอาฝุ่น คาย ออกให้หมด ก่อนนำไปบรรจุในถุงภาชนะเก็บไว้ [ควรบรรจุในถุงศูนย์ยากาศ หรือถุงพลาสติก แล้วปิดให้แน่นเพื่อไม่ให้อากาศถ่ายเทเข้าไป]
วิธีรับประทาน: ใช้ต้ม กับน้ำจนเดือด และน้ำเปลี่ยนเป็นสี เหลืองเข้ม เกือบน้ำตาล มีกลิ่นหอม สามารถดื่ม แบบ ร้อน และหรือทิ้งไว้ให้เย็น ปริมาณการต้ม คือ 25 ฝัก ต่อน้ำ 1.5 ลิตร *** ปอกะบิด 20-25 ฝัก ต้มได้ประมาณ 3 ครั้ง
ถ้าต้องการดื่มเพื่อรักษาหรือบรรเทาโรค ให้ดื่มแทนน้ำ ติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน
มาจากเว็บ

สรรพคุณของสับปะรด

กลุ่มยาขับปัสสาวะ
สับปะรด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ananas comosus (L.) Merr.
ชื่อสามัญ : Pineapple
วงศ์ : Bromeliaceae
ชื่ออื่น : แนะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ขนุนทอง ยานัด ย่านนัด (ใต้) บ่อนัด (เชียงใหม่) เนะซะ (กะเหรี่ยงตาก) ม้าเนื่อ (เขมร) มะขะนัด มะนัด (เหนือ) หมากเก็ง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) สับปะรด (กรุงเทพฯ) ลิงทอง (เพชรบูรณ์)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลสบปร สูง 90-100 ซม. ลำต้นใต้ดิน ปล้องสั้น ไม่แตกกิ่งก้านมีแต่กาบใบห่อหุ้มลำต้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนถี่ ไม่มีก้านใบ ใบเรียวยาว โคนใบเป็นกาบหุ้มลำต้น ปลายแหลม ขอบใบมีหนาม แผ่นใบสีเขียวเข้มและเป็นทางสีแดง ด้านล่างมีนวลแป้งสีขาว ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเรียงอัดกันแน่นรอบแกนช่อดอก ก้านช่อใหญ่แข็งแรง กลีบดอก 3 กลีบ ด้านบนสีชมพูอมม่วง ด้านล่างสีขาว เกสรเพศผู้ 6 อัน เรียบกัน 2 ชั้น ผล เป็นผลรวมรูปรี โคนกว้าง ปลายสอบ มีใบสั้นเป็นกระจุกที่ปลายผล เรียกว่าตะเกียง ผลสุกสีเหลืองสดและฉ่ำน้ำ
ส่วนที่ใช้ :
ราก หนาม ใบสด ผลดิบ ผลสุก ไส้กลางสับปะรด เปลือก จุก แขนง ยอดอ่อนสับปะรด
สรรพคุณ :
  • ราก - แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ แก้กระษัย ทำให้ไตมีสุขภาพดี แก้หนองใน แก้มุตกิดระดูขาว แก้ขัดข้อ
  • หนาม - แก้พิษฝีต่างๆ แก้ไข้ ลดความร้อน ไข้พา ไข้กาฬ
  • ใบสด - เป็นยาถ่าย ฆ่าพยาธิในท้อง ยาขับปัสสาวะ แก้กระษัย
  • ผลดิบ - ใช้ห้ามโลหิต แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ฆ่าพยาธิ และขับระดู
  • ผลสุก - ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ และบำรุงกำลัง ช่วยย่อยอาหาร แก้หนองใน มุตกิด กัดเสมหะในลำคอ
  • ไส้กลางสับปะรด - แก้ขัดเบา
  • เปลือก - ขับปัสสาวะ แก้กระษัย ทำให้ไตมีสุขภาพดี
  • จุก - ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้หนองใน มุตกิดระดูขาว
  • แขนง - แก้โรคนิ่ว
  • ยอดอ่อนสับปะรด - แก้นิ่ว
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
แก้อาการขัดเบา ช่วยขับปัสสาวะ ใช้เหง้าสดหรือแห้งวันละ 1 กอบมือ (สดหนัก 200-250 กรัม แห้งหนัก 90-100 กรัม) ต้มกับน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
คุณค่าด้านอาหาร : สับปะรด รับประทานเป็นผลไม้ มีแร่ธาตุและวิตามินที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
สารเคมี :
  • เหง้า มี Protein
  • ลำต้น มี Bromelain, Peroxidase, Amylase, Proteinase
  • ใบ มี Hemicellulose, Bromelain, Campestanol
  • ผล มี Acetaldehyde, Ethyl acetate, Acetone
  • น้ำมันหอมระเหย มี Isobutanol.              
  •                                                           มาจากเว็บ ฃ

สรรพคุณของตะไคร้

กลุ่มยาขับปัสสาวะ
ตะไคร้
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymbopogon citratus Stapf.
ชื่อสามัญ : Lemon Grass, Lapine
วงศ์ : Poaceae (Gramineae)
ชื่ออื่น : จะไคร้ (ภาคเหนือ) ไคร (ภาคใต้) คาหอม (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ห่อวอตะไป่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) หัวสิงโต (เขมร-ปราจีนบุรี) ตะไคร้แกง (ทั่วไป)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ส่วนที่ใช้ :

  • ทั้งต้น เก็บได้ตลอดปี ล้างให้สะอาด ใช้สดหรือผึ่งให้แห้งในที่ร่ม เก็บไว้ใช้
  • ราก เก็บได้ตลอดปี ล้างให้สะอาด ใช้สด ใบสด
สรรพคุณ :
  • ทั้งต้น
    1. รสฉุน สุมขุม แก้หวัด ปวดศีรษะ ไอ
    2. แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ขับลมในลำไส้ บำรุงไฟธาตุ
    3. ทำให้เจริญอาหาร แก้ปวดกระเพาะอาหาร แก้ท้องเสีย
    4. แก้ปวดข้อ ปวดเมื่อย ฟกช้ำจากหกล้ม ขาบวมน้ำ
    5. แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว ขับปัสสาวะ ประจำเดือนมาผิดปกติ
    6. แก้ปัสสาวะเป็นเลือด แก้โรคหืด
  • ราก
    1. แก้เสียดแน่น แสบบริเวณหน้าอก ปวดกระเพาะอาหารและขับปัสสาวะ
    2. บำรุงไฟธาตุ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะพิการ
    3. รักษาเกลื้อน แก้อาการขัดเบา
  • ใบสด - มีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้
  • ต้น - มีสรรพคุณเป็นยาขับลม แก้ผมแตกปลาย เป็นยาช่วยให้ลมเบ่งขณะคลอดลูก ใช้ดับกลิ่นคาว แก้เบื่ออาหาร บำรุงไฟธาตุให้เจริญ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่วปัสสาวะพิการ แก้หนองใน
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ปวดท้อง -ใช้ลำต้นแก่ๆ ทุบพอแหลก ประมาณ 1 กำมือ (ประมาณ 40- 60 กรัม ) ต้มเอาน้ำดื่ม หรือประกอบเป็นอาหาร
    - นำตะไคร้ทั้งต้นรวมทั้งรากจำนวน 5 ต้น สับเป็นท่อน ต้มกับเกลือ ต้ม 3 ส่วน ให้เหลือ 1 ส่วน รับประทานครั้งละ 1 ถ้วยแก้ว รับประทาน 3 วัน จะหายปวดท้อง
  • แก้อาการขัดเบา ผู้ที่ปัสสาวะขัดไม่คล่อง (แต่ต้องไม่มีอาการบวม)- ใช้ต้นแก่สด วันละ 1 กำมือ (ประมาณ 40- 60 กรัม , แห้งหนัก 20- 30 กรัม ) ต้มกับน้ำดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
    - ใช้เหง้าแก่ที่อยู่ใต้ดิน ฝานเป็นแว่นบางๆ คั่วไปอ่อนๆ พอเหลือง ชงเป็นชาดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยชา วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
คุณค่าทางด้านอาหาร :
ตะไคร้ยังมีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะช่วยเพิ่มเกลือแร่ที่จำเป็นหลายชนิด เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และยังมีวิตามินเอ รวมอยู่ด้วย
สารเคมี :
ใบ - มีน้ำมันหอมระเหย 0.4-0.8% ประกอบด้วย Citral 75-85 % Citronellal, Geraniol Methylheptenone เล็กน้อย , Eugenol และ Methylheptenol
ราก - มี อัลคาลอยด์ 0.3%
มาจากเว็บ

สรรพคุณของมะระ


มะระ มีรสชาติขมซะจนไม่อยากจะรับประทาน ภายใต้หน้าตาที่อัปลักษณ์ของมัน ถึงเวลาแล้วที่เราจะหันมาปฏิวัติการกินเสียใหม่นะคะ ชาวเอเชียรู้จักกันดีถึงสรรพคุณของมะระ แต่ชาวฝั่งตะวันตกกลับกลัวที่จะกินมัน ทั้งที่ยังไม่รู้ประโยชน์ที่แสนจะอัศจรรย์ของมันแม้แต่น้อย เรามาดูประโยชน์ของมะระกันเลยดีกว่านะคะ
อย่างแรกเลย คือ ความขมของมะระนั้นสามารถช่วยให้เราเจริญอาหาร เพราะสารขมที่อยู่ในมะระนั้นจะช่วยกระตุ้นให้น้ำย่อย ออกมามากจึงทำให้รับประทานอาหารได้มากขึ้น ซึ่งเราอาจจะนำมะระไปลวก หรือเผาไฟจิ้ม แล้วนำมาจิ้มกับน้ำพริกก็ได้
และอีกคุณประโยชน์ก็คือ สามารถบำบัดและรักษาโรคเบาหวานระยะเริ่มต้น ด้วยสารอาหารในมะระ ซึ่งทำหน้าที่เพิ่มเบต้าเซลล์ในตับอ่อน โดยการกระตุ้นให้เกิดการสร้างอินซูลิน (ฮอร์โมนควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด) อีกทั้งมะระยังมีเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรต สารอาหารจะผสมอยู่ในรูปของโปรตีน ซึ่งสามารถบรรเทาอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากโรคตับและโรคเบาหวานได้ มะระยังสามารถแก้โรคตับอักเสบ ปวดหัวเข่า ม้ามอักเสบได้ โดยรับประทานมะระดิบเป็นประจำจะช่วยได้ค่ะ

นอกจากนี้มะระยังมีคุณค่าทางอาหารมากมาย เพราะอุดมไปด้วยฟอสฟอรัส แคลเซียม วิตามินซี วิตามินบี1 - บี3, เบต้าแคโรทีน, ไฟเบอร์, ธาตุเหล็ก, โพแทสเซียม, เป็นต้น
***ข้อควรระวัง
- ห้ามรับประทานมะระสุก เพราะมะระสุกมีสารซาโปนินอยู่มาก ซึ่งมีผลให้คลื่นไส้ อาเจียน
- มะระมีฤทธิ์เป็นยาระบายอย่าทานมากเกินไปเพราะอาจทำให้ท้องเสียได้

มาจากเว็บ
http://www.healthmee.com/ForumId-492-ViewForum.aspx

สรรพของมะรุม


สรรพคุณและ ประโยชน์ของมะรุมวันนี้เรามีสรรพคุณของมะรุมและประโยชน์ของมะรุมที่จัดว่าเป็นอีกสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งเลยค่ะ บางคนก็เรียก มะรุม ว่า ผักมะรุม ผลมะรุม แต่ยังไงก็คือ มะรุม นะค่ะ อิอิอิ ประโยชน์ของมะรุม ของมะรุมนั้นมีมากจริง ๆ ส่วนใหญ่ก็นิยมนำมาทำอาหารได้หลายอย่างทั้ง ต้ม ผัด แกง ฯลฯ ส่วน สรรพคุณของมะรุม ก็นำมาทำเป็นตัวยาหลายอย่างเลยค่ะ แต่หากว่าอยากได้สุขภาพเวลานำมากประกอบอาหารต้องมาดู สรรพคุณของมะรุม และ ประโยชน์ของมะรุม กันเลยดีกว่าค่ะ



 
มะรุม
 


สรรพคุณ / ประโยชน์ของมะรุม


คุณค่าทางอาหารของมะรุม

- ใบ ใบสดใช้กินเป็นอาหาร ใบแห้งที่ทำเป็นผงเก็บไว้ได้นานโดยยังมีคุณค่าทางอาหารสูง ใบมะรุมมีวิตามินเอสูงกว่าแครอท มีแคลเซียมสูงกว่านม มีเหล็กสูงกว่าผักขม มีวิตามินซีสูงกว่าส้มและมีโปแตสเซียมสูงกว่ากล้วย

- ดอกฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แก้หวัดHelminths ป้องกันมะเร็ง

- ฝัก ฝักมะรุม 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 32 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย เส้นใย 1.2 กรัม แคลเซียม 9 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม เหล็ก 1.5 มิลลิกรัม วิตามินเอ 532 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.05 มิลลิกรัม ไนอาซิน 0.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 262 มิลลิกรัม

- เมล็ด น้ำมันที่ได้จากการคั้นเมล็ดสดใช้เป็นน้ำมันปรุงอาหาร

- การปรุงอาหาร ในประเทศไทยฤดูหนาวจะมีมะรุมจำหน่ายทั่วไปทั้งตลาดในเมืองและในท้องถิ่น คนไทยทุกภาครับประทานมะรุมเป็นผัก ชาวภาคกลางนิยมนักมะรุมอ่อนไปปรุงเป็นแกงส้มและนำดอกมะรุมลวกให้สุกหรือดองรับประทานกับน้ำพริก สำหรับชาวอีสานยอดอ่อน ใบอ่อน ช่อดอกอ่อนนำไปลวกให้สุกหรือต้มให้สุกรับประทานเป็นผักร่วมกับป่นแจ่ว ลาบ ก้อย หรือนำไปปรุงเป็นแกงอ่อม ส่วนฝักอ่อนหรือฝักที่ยังไม่แก่เต็มที่นำมาปอกเปลือกหั่นเป็นท่อนและนำไปปรุงเป็นแกงส้มหรือแกงลาวได้ นอกจากนี้ที่จังหวัดชัยภูมิยังรับประทานฝักมะรุมอ่อนสดเป็นผักแกล้มร่วมกับส้มตำโดยรับประทานคล้ายกับรับประทานถั่วฝักยาว และชาวบ้านเล่าว่าฝักมะรุมอ่อนนำไปแกงส้มได้โดยไม่ต้องปอกเปลือก ชาวเหนือนำดอกอ่อนฝักอ่อนไปแกงกับปลาในต่างประเทศ เช่น อินเดียมีการทำผงใบมะรุมไว้เป็นอาหารน้ำใบมะรุมอัดกระป๋อง


ประโยชน์ของมะรุม


ประโยชน์ของมะรุม

- ชะลอความแก่

กล่าวกันว่ามะรุมมีฤทธิ์ชะลอความแก่ เนื่องจากยังไม่พบรายงานการวิจัยเกี่ยวกับมะรุมในด้านนี้ คาดว่าเป็นการสรุปเนื่องจากมะรุมมีสารฟลาโวนอยด์สำคัญคือ รูทินและเควอเซทิน (rutin และ quercetin) สารลูทีนและกรดแคฟฟีโอลิลควินิก (lutein และcaffeoylquinic acids) ซึ่งต้านอนุมูลอิสระ ดูแลอวัยวะต่าง ๆ ได้แก่ จอประสาทตา ตับ และหลอดเลือดจากการเสื่อมสภาพตามอายุ การกินสารต้านอนุมูลอิสระชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์ในร่างกายได้

- ฆ่าจุลินทรีย์

สารเบนซิลไทโอไซยาเนตไกลโคไซด์และเบนซิล-กลูโคซิโนเลตค้นพบในปี พ.ศ.2507 จากมะรุมมีฤทธิ์ต้านจุลชีพ สนับสนุนการใช้น้ำคั้นจากมะรุมหยอดหูแก้ปวดหู ปัจจุบันหลังจากการค้นพบแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร Helicobactor pylori กำลังมีการศึกษาสารจากมะรุมในการต้านเชื้อดังกล่าว

- การป้องกันมะเร็ง

สารเบนซิลไทโอไซยาเนตไกลโคไซด์ชนิดหนึ่งและสารไนอาซิไมซิน (niazimicin) จากมะรุมสามารถต้านการเกิดมะเร็งที่ถูกกระตุ้นโดยสารฟอบอลเอสเทอร์ในเซลล์ มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้

การทดลองในหนูพบว่าหนูที่ได้รับฝักมะรุมเป็นอาหารเกิดโรคมะเร็งผิวหนังจาก การกระตุ้นน้อยกว่ากลุ่มทดลองโดยกลุ่มที่กินมะรุมมีเนื้องอกบนผิวหนังน้อยกว่ากลุ่มควบคุม

- ฤทธิ์ลดไขมันและคอเลสเทอรอล

จากการทดลอง 120 วัน ให้กระต่ายกินฝักมะรุม วันละ 200 กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวันเทียบกับยาโลวาสแตทิน 6 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวันและให้อาหารไขมันมาก


สรรพคุณของมะรุม


สรรพคุณของมะรุม

มะรุมในทางการแพทย์จะช่วยใช้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน ควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย

- ใบ ใช้ถอนพิษไข้ แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้อักเสบ แก้แผล ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ขับปัสสาวะ ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต
- ยอดอ่อน ใช้ถอนพิษไข้
- ดอก ใช้แก้ไข้หัวลม เป็นยาบำรุง ขับปัสสาวะ ขับน้ำตา ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันมะเร็ง
- ฝัก แก้ไข้ ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต
- เมล็ด เมล็ดปรุงเป็นยาแก้ไข้ แก้บวม แก้ปวดตามข้อ ป้องกันมะเร็ง
- ราก รสเผ็ด หวาน ขม สรรพคุณ แก้อาการบวม บำรุงไฟธาตุ รักษาโรคหัวใจ รักษาโรคไขข้อ (rheumatism)
- เปลือกลำต้น รสร้อน สรรพคุณขับลมในลำไส้ ทำให้ผายหรือเรอ คุมธาตุอ่อน ๆ แก้ลมอัมพาต ป้องกันมะเร็ง คุมกำเนิด เคี้ยวกินช่วยย่อยอาหาร
- ยาง (gum) ฆ่าเชื้อไทฟอยด์ ซิฟิลิส (syphilis) แก้ปวดฟัน earache, asthma

มาจากเว็บ
http://www.n3k.in.th/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%A1

วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สรรพคุณของฟักข้าว


สรรพคุณ ของฟักข้าว เเก้มะเร็ง






ได้รับความนิยมในหมู่คนรักสุขภาพมาพักหนึ่งแล้ว สำหรับผักพื้นบ้านที่มีชื่อว่า "ฟักข้าว" เชื่อว่าหลายคนคงคุ้น ๆ กับชื่อนี้ แต่อาจจะยังไม่รู้ว่า "ฟักข้าว" มีประโยชน์อย่างไร เอ้า...ใครที่ยังไม่รู้ว่า สรรพคุณของฟักข้าว มีอะไรบ้าง ตามมาอ่านกันจ้า

ฟักข้าว เป็นพืชไม้เลื้อยอยู่ในวงศ์แตงกวาและมะระ มีชื่อสามัญว่า Spring Bitter Cucumber เป็นพืชที่ขึ้นตามรั้วบ้าน หรือตามต้นไม้ต่าง ๆ มีมือเกาะคล้ายกับตำลึง ใบเป็นรูปหัวใจคล้ายใบโพธิ์ ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก 3-5 แฉก ดอกจะมีสีขาวแกมเหลือง ตรงกลางมีสีน้ำตาลแกมม่วง





ผลของฟักข้าว 2 ลักษณะ คือ ทรงกลม และทรงรี ผลกลม ๆ จะยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร ส่วนผลรีจะยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร ถ้ายังเป็นผลอ่อนอยู่ ผลจะมีสีเขียวอมเหลือง มีหนามถี่ ๆ อยู่รอบผล แต่เมื่อสุกแล้ว ผลจะมีสีแดง หรือแดงอมส้ม และหากผ่าผลฟักข้าวออกดูข้างใน ก็จะเห็นเมล็ดจำนวนมากเรียงตัวกันคล้ายเมล็ดแตง แต่ละผลหนักประมาณ 0.5-2 กิโลกรัม

หลายคนที่อยู่ต่างจังหวัดอาจจะไม่คุ้นชื่อกับ "ฟักข้าว" แต่คุณอาจจะคุ้นกับชื่อที่เรียกกันในท้องถิ่น อย่างจังหวัดปัตตานี จะเรียก "ฟักข้าว" ว่า "ขี้กาเครือ" จังหวัดตาก จะเรียกว่า "ผักข้าว" จังหวัดแพร่ เรียก "มะข้าว" เป็นต้น

เห็นหน้าค่าตารู้จัก "ฟักข้าว" กันไปแล้ว ลองมาดูกันบ้างดีกว่า ว่า "ฟักข้าว" นำไปทำประโยชน์อะไรได้บ้าง ที่เห็นชัด ๆ เลยก็คือ คนนิยมนำผลอ่อนของฟักข้าวมาปรุงอาหาร เพราะรสชาติของฟักข้าวอร่อยออกขมนิด ๆ แต่นุ่มลิ้น และเพราะว่า "ฟักข้าว" เป็นพืชที่มีฤทธิ์เย็นเช่นเดียวกับพืชตระกูลแตง การรับประทาน "ฟักข้าว" จึงช่วยลดความร้อนในร่างกายได้ด้วย ซึ่งวิธีปรุงอาหารจาก "ฟักข้าว" ก็ไม่ยาก แค่นำ "ฟักข้าว" มาลวก หรือต้มให้สุก แล้วจิ้มกินกับน้ำพริก หรือใส่ในแกง เช่น แกงเลียง แกงส้ม ก็ได้เมนูอร่อยเด็ดอีกจานแล้ว




แล้วรู้ไหมว่า เห็น "ฟักข้าว" ผลเล็ก ๆ แบบนี้ แต่มีสรรพคุณเด็ด ๆ มากมายเลยล่ะ โดยเฉพาะผลอ่อนของฟักข้าวที่มีทั้งวิตามินซี แคลเซียม เหล็ก ไฟเบอร์ แต่สารอาหารที่พบมากใน "ฟักข้าว" ก็คือ เบต้าแคโรทีน โดยพบว่า เยื่อเมล็ดของฟักข้าวมีปริมาณเบต้าแคโรทีนสูงกว่าแครอทถึง 10 เท่าเชียวนะ ซึ่งสารตัวนี้เป็นสารตั้งต้นของวิตามิน ซึ่ส่วนช่วยบำรุงสายตาได้อย่างดี และยังทำหน้าที่เสมือนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ

ไม่ใช่แค่ "แคโรทีน" เท่านั้น เพราะรายงานการศึกษาของต่างประเทศ ยังพบด้วยว่า ในเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวสีแดงมีไลโคปีนมากกว่ามะเขือเทศถึง 70 เท่า แต่สำหรับฟักข้าวสายพันธุ์ไทยมีปริมาณไลโคปีนมากกว่ามะเขือเทศเพียง 12 เท่า ซึ่งก็ถือว่ามากแล้ว

ทั้งนี้ ทางการแพทย์พิสูจน์แล้วว่า ไลโคปีนจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวเป็นสารต้านมะเร็ง มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะอาหาร ดังนั้น หากจะบอกว่า ฟักข้าว เป็นอาหารอีกหนึ่งชนิดที่ต้านมะเร็งได้ดีก็คงไม่ผิดนัก



นอกจากในประเทศไทยแล้ว เรายังสามารถพบ "ฟักข้าว" ได้ในอีกหลายประเทศในแถบเอเชีย ทั้งประเทศจีน พม่า ไทย ลาว บังกลาเทศ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ซึ่งแต่ละประเทศก็รู้จักสรรพคุณของ "ฟักข้าว" เป็นอย่างดี และนำ "ฟักข้าว" มาใช้ประโยชน์ต่าง ๆ กัน อย่างเช่น

ประเทศจีน นิยมนำเมล็ดแก่ของฟักข้าวมาบดให้แห้ง นำไปผสมน้ำมัน หรือน้ำส้มสายชูเล็กน้อย แล้วทาผิวหนังบริเวณที่มีอาการอักเสบ บวม จะช่วยรักษาอาการบวมได้ นอกจากนั้น ยังช่วยรักษาโรคกลาก เกลื้อน ฟกช้ำ แก้อาการผื่นคัน โรคผิวหนังต่าง ๆ ได้ด้วย

ประเทศเวียดนาม ชาวเวียดนามนิยมนำฟักข้าวมาปรุงอาหารในเทศกาลปีใหม่ และงานมงคลสมรส โดยจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฮานอย พบว่า น้ำมันจากเยื่อเมล็ดฟักข้าวมีประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งตับ

ประเทศฟิลิปปินส์ นำรากฟักข้าวมาบดแล้วนำไปหมักผม เพื่อช่วยให้ผมดกและยังสามารถกำจัดเหาได้ด้วย ซึ่งในประเพณีล้านนาของไทยก็มีการนำฟักข้าวไปสระผมเช่นกัน เพื่อช่วยแก้อาการคันศีรษะ แก้รังแค แก้ผมร่วง และช่วยให้ผมดกดำขึ้น

ประเทศญี่ปุ่น มีการวิจัยพบว่า โปรตีนจากสารสกัดน้ำของผลฟักข้าวช่วยยับยั้งการเจริญของก้อนมะเร็งลำไส้ใหญ่ในหนูทดลอง



สำหรับในประเทศไทยเองนั้น ขณะนี้มีนักวิจัยกำลังศึกษาสรรพคุณของฟักข้าวอย่างมากมาย อย่างเช่น คณะนักวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ ได้ร่วมกันศึกษาเรื่องการนำน้ำมันของเยื่้อหุ้มเมล็ดฟักข้าวในอนุภาคไขมันระดับนาโน มาพัฒนาเป็นเครื่องสำอางลดเลือนริ้วรอย ซึ่งจากการทดสอบก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และทำให้งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับรางวัล "IFSCC Host Society Award 2011" จากงานประชุมสมาพันธ์นักเคมีเครื่องสำอางนานาชาติ 2011 (IFSCC 2011)

นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่พบว่า ในเมล็ดฟักข้าวมีโปรตีนที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อเอชไอวี และยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ด้วย ขณะที่นักวิจัยจากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ก็กำลังศึกษาวิจัย เพื่อปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ฟักข้าวให้มีปริมาณเบต้าแคโรทีนและสารไลโคปีนสูงขึ้น และมีผลผลิตของเยื่อหุ้มเมล็ดเพิ่มมากขึ้นด้วย

เห็นแบบนี้แล้ว ต้องยกให้ "ฟักข้าว" เป็นพืชมหัศจรรย์อีกหนึ่งชนิด เพราะมีสรรพคุณทางยาและคุณค่าทางโภชนาการไม่น้อยเลยทีเดียว และเชื่อว่าหากมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม เราคงได้ค้นพบถึงสรรพคุณเจ๋ง ๆ ของพืชพื้นบ้านชนิดนี้อีกแน่นอน


ประโยชน์ของฟักข้าว

  1. ยอดอ่อนฟักข้าว ทำอาหารได้อร่อยมากสดๆกลิ่นเหมือนยอด-ใบมะระ ดุเหมือนไม่น่าจะอร่อย แต่เมื่อสุกไม่ว่าจะลวกหรือต้มจิ้มน้ำพริก  ยำ ผัดไฟแดง แกงเลียง คั่วแค แกงส้ม ฯลฯ อร่อยมากผักบางชนิดที่ว่าอร่อยแล้วยังสู้ไม่ได้
2. ผลิตภัณฑ์จากฟักข้าวที่มีผู้ผลิตจำหน่ายแล้ว
3.ดอกของฟักข้าวเท่าที่เคบพบ มี 2 ลักษณะ ซึ่งอาจจะมีมากกว่า 2 แบบ ดอกฟักข้าวที่มีปลายกลีบแหลม ดอกของต้นตัวผู้   ส่วนดอกฟักข้าวปลายกลีบมน  ดอกของต้นตัวเมีย ( ดอกฟักข้าว 2 ลักษณะนี้ผู้เขียนยังไม่แน่ใจว่าเข้าใจถูกต้องหรือไม่  ว่าแตกต่างกันอย่างไรแน่ ตอนแรกเข้าใจว่า ดอกปลายกลีบแหลม ผลใหญ่ ใบไม่หยัก และดอกปลายมนกลม เป็นผลเล็ก ใบหยัก ต้นทั้งใบหยักและไม่หยัก มีลูกเหมือนกัน )
4. ต้นฟักข้าวเป็นไม้เถาเลื้อย ชอบแดด เลื้อยได้ทั้งบนพื้น บนต้นไม้อื่น บนหลังคา รั้วเตี้ยรั้วสูง ฯลฯ ขอให้มีที่มือเกาะ(ผู้เขียนจะเรียกหนวด)ได้ เลื้อยไปได้หมด 
5. โคนต้นใหญ่ หากปลูกลงดินได้ดินดี  ฟักข้าวมีลูกตั้งแต่ต้นเล็ก เมื่อออกดอก ออกลูก เมื่อใบวายก็จะแตกยอดใบใหม่ ให้ได้เก็บ ยอด ใบ ลูกอ่อน ลูกแก่ ได้ตลอด 
6. ผลอ่อนของฟักข้าว นำมาทำอาหารได้หลายอย่าง เช่น ต้มหรือนึ่งจิ้มน้ำพริก  ใส่แกงต่างๆ ลักษณะคล้ายเนื้อของมะละกอดิบแต่เนียนและแน่นกว่า 
7. ผลฟักข้าวเมื่อเริ่มแก่ผิวเปลือกจะสีเหลือง พอแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีแสด-แดง ไม่ว่าจะอยู่บนต้นหรืออยู่ในภาชนะ ดูสวยงาม ซึ่งบางบ้านที่ปลูกบางทีมีปัญหามีเแมลง นก กระรอก ฯ มากินก่อนที่ลูกจะแก่จัด โดยเฉพาะหากเป็นแมลงเจาะแล้วในลูกก็จะมีหนอนอยู่เต็มลูก ซึ่งถ้าห่อตอนลูกเล็กๆก็คงปลอดภัยจากแมลงได้   เท่าที่ทราบมาเมื่อลูกแก่ก็จะเก็บลงมาบ่มให้สุกก่อนที่จะใช้ส่วนด้านในลูก
8.ฟักข้าวด้านในลูกเมื่อแก่ เนื้อจะเป็นสีเหลือง เยื่อกลางผลที่หุ้มเมล็ดเป็นสีแดง เมล็ดแก่สีน้ำตาลเข้ม เวลาผ่าลูกแก่ถ้าต้องการเมล็ดไปปลูกต้องระวังมีดโดนเมล็ด ด้านในเมล็ดเนื้อสีขาว เมล็ดของฟักข้าวไม่ว่าจะสุกหรือดิบ (สดยังไม่ตากแห้ง) ผิวเปลือกจะกรอบมาก  ต้องทำให้สุกโดย คั่วหรือต้ม เมล็ดดิบมีพิษ 
9. เมล็ดฟักข้าวแก่ ถ้านำไปปลูกต้องได้จากลูกฟักข้าวที่แก่จริงๆ ซึ่งตามที่กล่าวบางครั้งต้องนำลงมาจากต้นก่อนมาบ่มนั้นบางลูกยังไม่แก่มากก็สุกได้ เมื่อนำเมล็ดมาเพาะจึงไม่ขึ้นต้น   
เมล็ดฟักข้าว มหาวิทยาลัยมหิดล วิจัยพบโปรตีนที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญ ของเชื้อเอชไอวี-เอดส์ และยับยั้งเซลล์มะเร็ง จดสิทธิบัตรในประเทศไทยแล้ว

 
สรรพคุณประโยชน์ของฟักข้าวตามตำราแพทย์แผนไทย
ฟักข้าว   ผักข้าว(เหนือ). ขี้กาเครือ (ปัตตานี) .พุกู้ต๊ะ(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) 
ใบ   รสขมเย็น   แก้ไข้ตัวร้อน  ถอนพิษอักเสบ  ตำพอกแก้ปวดหลัง แก้กระดูกเดาะ แก้ฝี แก้พิษ
เมล็ด  รสมันเมาเย็น  ดิบเป็นพิษ คั่วให้กรอบรับประทานบำรุงปอด แก้ฝีในปอด แก้ไอ ขับปัสสาวะ แก้ท่อน้ำดีอุดตัน ใช้แทนเมล็ดแสลงใจ(โกฐละกลิ้ง)ได้
ราก   รสเบื่อเย็น ต้มดื่มถอนพิษทั้งปวง  ถอนพิษไข้ ขับเสมหะ แก้เข้าข้อ ปวดตามข้อ แช่น้ำสระผม แก้ผมร่วง ฆ่าเหา
ฟักข้าว ลดน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวานได้
ราก       ถอนพิษทั้งปวง
ใบ          ดับพิษ แก้หูด ฝีมะม่วง ริดสีดวง
ผลอ่อน ใบอ่อน  ลดน้ำตาลในเลือด
วิธีใช้ นำผลอ่อน ใบอ่อน ยอดอ่อน มาปรุงเป็นอาหาร นำมาลวก ทำให้สุกรับประทานกับน้ำพริก หรือทำเป็นแกงแค
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ต้านมะเร็ง ไวรัส ยับยั้งน้ำตาลในเลือด ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีน 
รายงานผลการทดลอง  ในปี ค.ศ.1986 ประเทศบังกลาเทศ ทำการทดลองพบสาร glycoides ในฟักข้าว ให้ผลในการลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
สรรพคุณประโยชน์ของฟักข้าวนั้นมีมากๆ ผลการวิจัยในประเทศไทย เช่น จาก ม.มหิดล   ม.เชียงใหม่  ม.พายัพ  ม.แม่ฟ้าหลวง  และต่างประเทศเช่น ประเทศเวียตนาม จีน ญี่ปุ่น มีการเผยแพร่ให้ทราบกันในอินเตอร์เน็ตแล้ว คลิกอ่านชมกันได้นะคะ ข้อมูลที่ผู้เขียนทราบนั้นได้รับความกรุณาจากอาจารย์สุวัฒน์ ทรัพยประภา ส่งเป็นเอกสารมาให้ทราบส่วนหนึ่ง และได้จากผู้ขายผลิตภัณฑ์ฟักข้าว และประสบการณ์ทำใช้และทดลองด้วยตนเอง
 จะเพิ่มบันทึกเรื่องฟักข้าวให้ชมอีกหลายบันทึก  เช่น การทำน้ำฟักข้าว หุงข้าว ไอติม น้ำมัน ด้วยเยื่อสีแดงและเมล็ดของฟักข้าว  ฝากชมด้วยนะคะ

ประโยชน์ของฟักข้าว

ประโยชน์ของฟักข้าว
ประโยชน์ของฟักข้าว
ประโยชน์ของฟักข้าว
1. ช่วยต้านอนุมูลอิสระ
2. ป้องกันการติดเชื้อ
3. ป้องกันการเกิดสารก่อมะเร็ง
4. ลดความเสี่ยงจากโรคโลหิตจาง
5. ป้องกันและรักษาตับอักเสบ
6. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด 
 ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ
7. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
8. เพื่อป้องกันและบรรเทาการขาดวิตามิน  
สารอาหารต่างๆ ในเด็กและผู้ใหญ่  
9. ชะลอความแก่ ป้องกันผิวหนังแห้ง 
 บำรุงผิวพรรณ
10. ช่วยให้อัตราการเผาผลาญพลังงานสม่ำเสมอ 
 การดูดซึมสารอาหารได้ดียิ่งขึ้น

11. ช่วยกระตุ้นพัฒนาการและการเติบ   โตของเด็ก
 ให้แข็งแรง
12. ช่วยป้องกันและรักษาการติดเชื้อในการ
 ฉายรังสี
13. ช่วยป้องกันการได้รับสารพิษในผัก ผลไม้ 
 ผักต่างๆ
14. ช่วยปรับสภาพร่างกายให้ฟื้นฟูโดยเร็ว








                    มาจากเว็บ

    http://www.gotoknow.org/posts/486989