วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สรรพคุณของฟักข้าว


สรรพคุณ ของฟักข้าว เเก้มะเร็ง






ได้รับความนิยมในหมู่คนรักสุขภาพมาพักหนึ่งแล้ว สำหรับผักพื้นบ้านที่มีชื่อว่า "ฟักข้าว" เชื่อว่าหลายคนคงคุ้น ๆ กับชื่อนี้ แต่อาจจะยังไม่รู้ว่า "ฟักข้าว" มีประโยชน์อย่างไร เอ้า...ใครที่ยังไม่รู้ว่า สรรพคุณของฟักข้าว มีอะไรบ้าง ตามมาอ่านกันจ้า

ฟักข้าว เป็นพืชไม้เลื้อยอยู่ในวงศ์แตงกวาและมะระ มีชื่อสามัญว่า Spring Bitter Cucumber เป็นพืชที่ขึ้นตามรั้วบ้าน หรือตามต้นไม้ต่าง ๆ มีมือเกาะคล้ายกับตำลึง ใบเป็นรูปหัวใจคล้ายใบโพธิ์ ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก 3-5 แฉก ดอกจะมีสีขาวแกมเหลือง ตรงกลางมีสีน้ำตาลแกมม่วง





ผลของฟักข้าว 2 ลักษณะ คือ ทรงกลม และทรงรี ผลกลม ๆ จะยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร ส่วนผลรีจะยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร ถ้ายังเป็นผลอ่อนอยู่ ผลจะมีสีเขียวอมเหลือง มีหนามถี่ ๆ อยู่รอบผล แต่เมื่อสุกแล้ว ผลจะมีสีแดง หรือแดงอมส้ม และหากผ่าผลฟักข้าวออกดูข้างใน ก็จะเห็นเมล็ดจำนวนมากเรียงตัวกันคล้ายเมล็ดแตง แต่ละผลหนักประมาณ 0.5-2 กิโลกรัม

หลายคนที่อยู่ต่างจังหวัดอาจจะไม่คุ้นชื่อกับ "ฟักข้าว" แต่คุณอาจจะคุ้นกับชื่อที่เรียกกันในท้องถิ่น อย่างจังหวัดปัตตานี จะเรียก "ฟักข้าว" ว่า "ขี้กาเครือ" จังหวัดตาก จะเรียกว่า "ผักข้าว" จังหวัดแพร่ เรียก "มะข้าว" เป็นต้น

เห็นหน้าค่าตารู้จัก "ฟักข้าว" กันไปแล้ว ลองมาดูกันบ้างดีกว่า ว่า "ฟักข้าว" นำไปทำประโยชน์อะไรได้บ้าง ที่เห็นชัด ๆ เลยก็คือ คนนิยมนำผลอ่อนของฟักข้าวมาปรุงอาหาร เพราะรสชาติของฟักข้าวอร่อยออกขมนิด ๆ แต่นุ่มลิ้น และเพราะว่า "ฟักข้าว" เป็นพืชที่มีฤทธิ์เย็นเช่นเดียวกับพืชตระกูลแตง การรับประทาน "ฟักข้าว" จึงช่วยลดความร้อนในร่างกายได้ด้วย ซึ่งวิธีปรุงอาหารจาก "ฟักข้าว" ก็ไม่ยาก แค่นำ "ฟักข้าว" มาลวก หรือต้มให้สุก แล้วจิ้มกินกับน้ำพริก หรือใส่ในแกง เช่น แกงเลียง แกงส้ม ก็ได้เมนูอร่อยเด็ดอีกจานแล้ว




แล้วรู้ไหมว่า เห็น "ฟักข้าว" ผลเล็ก ๆ แบบนี้ แต่มีสรรพคุณเด็ด ๆ มากมายเลยล่ะ โดยเฉพาะผลอ่อนของฟักข้าวที่มีทั้งวิตามินซี แคลเซียม เหล็ก ไฟเบอร์ แต่สารอาหารที่พบมากใน "ฟักข้าว" ก็คือ เบต้าแคโรทีน โดยพบว่า เยื่อเมล็ดของฟักข้าวมีปริมาณเบต้าแคโรทีนสูงกว่าแครอทถึง 10 เท่าเชียวนะ ซึ่งสารตัวนี้เป็นสารตั้งต้นของวิตามิน ซึ่ส่วนช่วยบำรุงสายตาได้อย่างดี และยังทำหน้าที่เสมือนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ

ไม่ใช่แค่ "แคโรทีน" เท่านั้น เพราะรายงานการศึกษาของต่างประเทศ ยังพบด้วยว่า ในเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวสีแดงมีไลโคปีนมากกว่ามะเขือเทศถึง 70 เท่า แต่สำหรับฟักข้าวสายพันธุ์ไทยมีปริมาณไลโคปีนมากกว่ามะเขือเทศเพียง 12 เท่า ซึ่งก็ถือว่ามากแล้ว

ทั้งนี้ ทางการแพทย์พิสูจน์แล้วว่า ไลโคปีนจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวเป็นสารต้านมะเร็ง มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะอาหาร ดังนั้น หากจะบอกว่า ฟักข้าว เป็นอาหารอีกหนึ่งชนิดที่ต้านมะเร็งได้ดีก็คงไม่ผิดนัก



นอกจากในประเทศไทยแล้ว เรายังสามารถพบ "ฟักข้าว" ได้ในอีกหลายประเทศในแถบเอเชีย ทั้งประเทศจีน พม่า ไทย ลาว บังกลาเทศ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ซึ่งแต่ละประเทศก็รู้จักสรรพคุณของ "ฟักข้าว" เป็นอย่างดี และนำ "ฟักข้าว" มาใช้ประโยชน์ต่าง ๆ กัน อย่างเช่น

ประเทศจีน นิยมนำเมล็ดแก่ของฟักข้าวมาบดให้แห้ง นำไปผสมน้ำมัน หรือน้ำส้มสายชูเล็กน้อย แล้วทาผิวหนังบริเวณที่มีอาการอักเสบ บวม จะช่วยรักษาอาการบวมได้ นอกจากนั้น ยังช่วยรักษาโรคกลาก เกลื้อน ฟกช้ำ แก้อาการผื่นคัน โรคผิวหนังต่าง ๆ ได้ด้วย

ประเทศเวียดนาม ชาวเวียดนามนิยมนำฟักข้าวมาปรุงอาหารในเทศกาลปีใหม่ และงานมงคลสมรส โดยจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฮานอย พบว่า น้ำมันจากเยื่อเมล็ดฟักข้าวมีประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งตับ

ประเทศฟิลิปปินส์ นำรากฟักข้าวมาบดแล้วนำไปหมักผม เพื่อช่วยให้ผมดกและยังสามารถกำจัดเหาได้ด้วย ซึ่งในประเพณีล้านนาของไทยก็มีการนำฟักข้าวไปสระผมเช่นกัน เพื่อช่วยแก้อาการคันศีรษะ แก้รังแค แก้ผมร่วง และช่วยให้ผมดกดำขึ้น

ประเทศญี่ปุ่น มีการวิจัยพบว่า โปรตีนจากสารสกัดน้ำของผลฟักข้าวช่วยยับยั้งการเจริญของก้อนมะเร็งลำไส้ใหญ่ในหนูทดลอง



สำหรับในประเทศไทยเองนั้น ขณะนี้มีนักวิจัยกำลังศึกษาสรรพคุณของฟักข้าวอย่างมากมาย อย่างเช่น คณะนักวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ ได้ร่วมกันศึกษาเรื่องการนำน้ำมันของเยื่้อหุ้มเมล็ดฟักข้าวในอนุภาคไขมันระดับนาโน มาพัฒนาเป็นเครื่องสำอางลดเลือนริ้วรอย ซึ่งจากการทดสอบก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และทำให้งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับรางวัล "IFSCC Host Society Award 2011" จากงานประชุมสมาพันธ์นักเคมีเครื่องสำอางนานาชาติ 2011 (IFSCC 2011)

นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่พบว่า ในเมล็ดฟักข้าวมีโปรตีนที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อเอชไอวี และยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ด้วย ขณะที่นักวิจัยจากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ก็กำลังศึกษาวิจัย เพื่อปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ฟักข้าวให้มีปริมาณเบต้าแคโรทีนและสารไลโคปีนสูงขึ้น และมีผลผลิตของเยื่อหุ้มเมล็ดเพิ่มมากขึ้นด้วย

เห็นแบบนี้แล้ว ต้องยกให้ "ฟักข้าว" เป็นพืชมหัศจรรย์อีกหนึ่งชนิด เพราะมีสรรพคุณทางยาและคุณค่าทางโภชนาการไม่น้อยเลยทีเดียว และเชื่อว่าหากมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม เราคงได้ค้นพบถึงสรรพคุณเจ๋ง ๆ ของพืชพื้นบ้านชนิดนี้อีกแน่นอน


ประโยชน์ของฟักข้าว

  1. ยอดอ่อนฟักข้าว ทำอาหารได้อร่อยมากสดๆกลิ่นเหมือนยอด-ใบมะระ ดุเหมือนไม่น่าจะอร่อย แต่เมื่อสุกไม่ว่าจะลวกหรือต้มจิ้มน้ำพริก  ยำ ผัดไฟแดง แกงเลียง คั่วแค แกงส้ม ฯลฯ อร่อยมากผักบางชนิดที่ว่าอร่อยแล้วยังสู้ไม่ได้
2. ผลิตภัณฑ์จากฟักข้าวที่มีผู้ผลิตจำหน่ายแล้ว
3.ดอกของฟักข้าวเท่าที่เคบพบ มี 2 ลักษณะ ซึ่งอาจจะมีมากกว่า 2 แบบ ดอกฟักข้าวที่มีปลายกลีบแหลม ดอกของต้นตัวผู้   ส่วนดอกฟักข้าวปลายกลีบมน  ดอกของต้นตัวเมีย ( ดอกฟักข้าว 2 ลักษณะนี้ผู้เขียนยังไม่แน่ใจว่าเข้าใจถูกต้องหรือไม่  ว่าแตกต่างกันอย่างไรแน่ ตอนแรกเข้าใจว่า ดอกปลายกลีบแหลม ผลใหญ่ ใบไม่หยัก และดอกปลายมนกลม เป็นผลเล็ก ใบหยัก ต้นทั้งใบหยักและไม่หยัก มีลูกเหมือนกัน )
4. ต้นฟักข้าวเป็นไม้เถาเลื้อย ชอบแดด เลื้อยได้ทั้งบนพื้น บนต้นไม้อื่น บนหลังคา รั้วเตี้ยรั้วสูง ฯลฯ ขอให้มีที่มือเกาะ(ผู้เขียนจะเรียกหนวด)ได้ เลื้อยไปได้หมด 
5. โคนต้นใหญ่ หากปลูกลงดินได้ดินดี  ฟักข้าวมีลูกตั้งแต่ต้นเล็ก เมื่อออกดอก ออกลูก เมื่อใบวายก็จะแตกยอดใบใหม่ ให้ได้เก็บ ยอด ใบ ลูกอ่อน ลูกแก่ ได้ตลอด 
6. ผลอ่อนของฟักข้าว นำมาทำอาหารได้หลายอย่าง เช่น ต้มหรือนึ่งจิ้มน้ำพริก  ใส่แกงต่างๆ ลักษณะคล้ายเนื้อของมะละกอดิบแต่เนียนและแน่นกว่า 
7. ผลฟักข้าวเมื่อเริ่มแก่ผิวเปลือกจะสีเหลือง พอแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีแสด-แดง ไม่ว่าจะอยู่บนต้นหรืออยู่ในภาชนะ ดูสวยงาม ซึ่งบางบ้านที่ปลูกบางทีมีปัญหามีเแมลง นก กระรอก ฯ มากินก่อนที่ลูกจะแก่จัด โดยเฉพาะหากเป็นแมลงเจาะแล้วในลูกก็จะมีหนอนอยู่เต็มลูก ซึ่งถ้าห่อตอนลูกเล็กๆก็คงปลอดภัยจากแมลงได้   เท่าที่ทราบมาเมื่อลูกแก่ก็จะเก็บลงมาบ่มให้สุกก่อนที่จะใช้ส่วนด้านในลูก
8.ฟักข้าวด้านในลูกเมื่อแก่ เนื้อจะเป็นสีเหลือง เยื่อกลางผลที่หุ้มเมล็ดเป็นสีแดง เมล็ดแก่สีน้ำตาลเข้ม เวลาผ่าลูกแก่ถ้าต้องการเมล็ดไปปลูกต้องระวังมีดโดนเมล็ด ด้านในเมล็ดเนื้อสีขาว เมล็ดของฟักข้าวไม่ว่าจะสุกหรือดิบ (สดยังไม่ตากแห้ง) ผิวเปลือกจะกรอบมาก  ต้องทำให้สุกโดย คั่วหรือต้ม เมล็ดดิบมีพิษ 
9. เมล็ดฟักข้าวแก่ ถ้านำไปปลูกต้องได้จากลูกฟักข้าวที่แก่จริงๆ ซึ่งตามที่กล่าวบางครั้งต้องนำลงมาจากต้นก่อนมาบ่มนั้นบางลูกยังไม่แก่มากก็สุกได้ เมื่อนำเมล็ดมาเพาะจึงไม่ขึ้นต้น   
เมล็ดฟักข้าว มหาวิทยาลัยมหิดล วิจัยพบโปรตีนที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญ ของเชื้อเอชไอวี-เอดส์ และยับยั้งเซลล์มะเร็ง จดสิทธิบัตรในประเทศไทยแล้ว

 
สรรพคุณประโยชน์ของฟักข้าวตามตำราแพทย์แผนไทย
ฟักข้าว   ผักข้าว(เหนือ). ขี้กาเครือ (ปัตตานี) .พุกู้ต๊ะ(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) 
ใบ   รสขมเย็น   แก้ไข้ตัวร้อน  ถอนพิษอักเสบ  ตำพอกแก้ปวดหลัง แก้กระดูกเดาะ แก้ฝี แก้พิษ
เมล็ด  รสมันเมาเย็น  ดิบเป็นพิษ คั่วให้กรอบรับประทานบำรุงปอด แก้ฝีในปอด แก้ไอ ขับปัสสาวะ แก้ท่อน้ำดีอุดตัน ใช้แทนเมล็ดแสลงใจ(โกฐละกลิ้ง)ได้
ราก   รสเบื่อเย็น ต้มดื่มถอนพิษทั้งปวง  ถอนพิษไข้ ขับเสมหะ แก้เข้าข้อ ปวดตามข้อ แช่น้ำสระผม แก้ผมร่วง ฆ่าเหา
ฟักข้าว ลดน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวานได้
ราก       ถอนพิษทั้งปวง
ใบ          ดับพิษ แก้หูด ฝีมะม่วง ริดสีดวง
ผลอ่อน ใบอ่อน  ลดน้ำตาลในเลือด
วิธีใช้ นำผลอ่อน ใบอ่อน ยอดอ่อน มาปรุงเป็นอาหาร นำมาลวก ทำให้สุกรับประทานกับน้ำพริก หรือทำเป็นแกงแค
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ต้านมะเร็ง ไวรัส ยับยั้งน้ำตาลในเลือด ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีน 
รายงานผลการทดลอง  ในปี ค.ศ.1986 ประเทศบังกลาเทศ ทำการทดลองพบสาร glycoides ในฟักข้าว ให้ผลในการลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
สรรพคุณประโยชน์ของฟักข้าวนั้นมีมากๆ ผลการวิจัยในประเทศไทย เช่น จาก ม.มหิดล   ม.เชียงใหม่  ม.พายัพ  ม.แม่ฟ้าหลวง  และต่างประเทศเช่น ประเทศเวียตนาม จีน ญี่ปุ่น มีการเผยแพร่ให้ทราบกันในอินเตอร์เน็ตแล้ว คลิกอ่านชมกันได้นะคะ ข้อมูลที่ผู้เขียนทราบนั้นได้รับความกรุณาจากอาจารย์สุวัฒน์ ทรัพยประภา ส่งเป็นเอกสารมาให้ทราบส่วนหนึ่ง และได้จากผู้ขายผลิตภัณฑ์ฟักข้าว และประสบการณ์ทำใช้และทดลองด้วยตนเอง
 จะเพิ่มบันทึกเรื่องฟักข้าวให้ชมอีกหลายบันทึก  เช่น การทำน้ำฟักข้าว หุงข้าว ไอติม น้ำมัน ด้วยเยื่อสีแดงและเมล็ดของฟักข้าว  ฝากชมด้วยนะคะ

ประโยชน์ของฟักข้าว

ประโยชน์ของฟักข้าว
ประโยชน์ของฟักข้าว
ประโยชน์ของฟักข้าว
1. ช่วยต้านอนุมูลอิสระ
2. ป้องกันการติดเชื้อ
3. ป้องกันการเกิดสารก่อมะเร็ง
4. ลดความเสี่ยงจากโรคโลหิตจาง
5. ป้องกันและรักษาตับอักเสบ
6. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด 
 ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ
7. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
8. เพื่อป้องกันและบรรเทาการขาดวิตามิน  
สารอาหารต่างๆ ในเด็กและผู้ใหญ่  
9. ชะลอความแก่ ป้องกันผิวหนังแห้ง 
 บำรุงผิวพรรณ
10. ช่วยให้อัตราการเผาผลาญพลังงานสม่ำเสมอ 
 การดูดซึมสารอาหารได้ดียิ่งขึ้น

11. ช่วยกระตุ้นพัฒนาการและการเติบ   โตของเด็ก
 ให้แข็งแรง
12. ช่วยป้องกันและรักษาการติดเชื้อในการ
 ฉายรังสี
13. ช่วยป้องกันการได้รับสารพิษในผัก ผลไม้ 
 ผักต่างๆ
14. ช่วยปรับสภาพร่างกายให้ฟื้นฟูโดยเร็ว








                    มาจากเว็บ

    http://www.gotoknow.org/posts/486989
  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น